วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การสื่อสารและโทรคมนาคม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกยุคโลกาภิวัฒน์หรือโลกไร้พรมแดนที่เน้นถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับการพัฒนาที่ยั่งยืนและสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในเศรษฐกิจโลกยุคปัจจุบัน

แต่ในอนาคต รัฐบาลควรน่าที่จะกระจายระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมให้ทั่วประเทศ โดยวางเป้าหมายขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศไปตามตำบล หมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัด เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเติบโตของความต้องการข้อมูลข่าวสารทั่วไป และเชิงพาณิชย์ อาทิเช่น การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมอร์ซ (E-Commerce) ทั้งนี้ เพื่อสร้างความสมดุลย์ในสังคม (Social Balance)
ด้านการแข่งขันธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคมในประเทศ หลังเศรษฐกิจยุคฟองสบู่แตก เมื่อปี 2540 และการปฏิรูปทางการเมือง ที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองในยุคประชาธิปไตยเต็มใบ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนคนไทย มีส่วนร่วมในการจัดทำมากที่สุด และถือว่าเป็น "นวัตกรรมทางการเมือง" ที่ส่งผลให้ภาครัฐได้สร้างนวัตกรรมโทรคมนาคม นั่นคือ มาตรา 40 และมาตรา 335(2) เพื่อปลดแอกระบบการผูกขาด (Monopoly) และเปิดเสรีด้านสื่อสารและโทรคมนาคม


แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
          การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย 
สรุป 

          
ในสังคมสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คนในสังคมมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง คนทุกระดับอายุ เกือบทุกอาชีพ มีความต้องการสารสนเทศอยู่ตลอดเวลาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งทางตรงและทาง อ้อม เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาและเริ่มนำมาประยุกต์ใช้ไม่ว่าจะเป็น ระบบปัญญาประดิษฐ์ ยูบิควิตัส การเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการบริหารประเทศก็ยังมีการตั้งโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ พวกเราที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมสารสนเทศจึงควรเตรียมความพร้อมในการปรับตัว เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ การประกอบธุรกิจ การบริหารจัดการ การพักผ่อนและบันเทิง รวมทั้งการสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับชีวิตของตนเอง 


ที่มา  http://www.hrtothai.com/index.php?Itemid=168&id=1102&option=com_content&task=view



รายชื่อผู้จัดทำ
นางสาววิมลรัตน์ เฉิดละออ รหัสนักศึกษา 53492441003 ตอนเรียน D1